• สาระน่ารู้
  • ล่าสุด

รู้จัก 5 Layout ของคีย์บอร์ด พิมพ์ไว ไม่เมื่อย ปรับแบบไหนได้บ้าง

โพสต์เมื่อ 24 Jun 2024
by Utech 720 Views
wysiwyg/1_47.jpg

     การเลือกซื้อคีย์บอร์ด นอกจากแค่เรื่องของบอดี้ ความสวยงาม แต่ต้องให้ความสนใจกับรูปแบบ Layouts และ Form Factors ของคีย์บอร์ดด้วย เพราะปัจจัยเหล่านี้มีผลอย่างมากต่อความสะดวกสบายในการใช้งาน บทความนี้จะมาแนะนำให้รู้จักกับสิ่งที่เรียกว่า Layouts และ Form Factors ของคีย์บอร์ดแต่ละประเภท ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร และแบบไหนมีความเป็นมายังไง เหมาะกับการใช้งานสไตล์ไหน เพื่อช่วยให้เราสามารถยกระดับการใช้งานคีย์บอร์ดให้ตรงใจและตอบโจทย์ความต้องการมากที่สุด

wysiwyg/2_49.jpg

รู้จัก Form Factor คืออะไร

     คีย์บอร์ดฟอร์มแฟคเตอร์ (Form Factor) หมายถึง รูปร่างหน้าตาและขนาดของคีย์บอร์ด ซึ่งคีย์บอร์ดฟอร์มแฟคเตอร์จะส่งผลต่อจำนวนปุ่มหรือแป้นพิมพ์ที่สามารถบรรจุไว้ในตัวคีย์บอร์ด โดยทั่วไปสามารถแบ่งฟอร์มแฟคเตอร์ออกเป็น 4 รูปแบบหลัก ดังนี้

  • Full Size: คีย์บอร์ดขนาดเต็มที่ มีทั้งแป้นพิมพ์หลัก แป้นตัวเลข และแถวปุ่มฟังก์ชันต่างๆ ขนาดกว้างประมาณ 18 นิ้ว เหมาะสำหรับการพิมพ์งานเอกสารและงานทั่วไป
  • Tenkeyless (TKL): คีย์บอร์ดที่ไม่มีแถวแป้นตัวเลข ขนาดกะทัดรัด กว้างประมาณ 14 นิ้ว น้ำหนักเบา พกพาสะดวก เหมาะกับการเล่นเกมหรือทำงานในพื้นที่จำกัด
  • 75%: ขนาดเล็กกว่า TKL เล็กน้อย ไม่มีแป้นตัวเลขและปุ่มฟังก์ชันบางตัว จึงกะทัดรัดมาก เหมาะสำหรับการพกพาไปทำงานที่ต่าง ๆ
  • 65%/60%: คีย์บอร์ดขนาดเล็กมาก ไม่มีทั้งแป้นตัวเลข ปุ่มฟังก์ชัน และปุ่มแนวนอนบางตัว เหมาะสำหรับผู้ใช้งานกลุ่มเฉพาะเกมบางประเภท

รู้จัก Layout ของคีย์บอร์ด คืออะไร

     Keyboard Layout คือ การจัดวางตำแหน่งของแถวปุ่มกดต่างๆ บนคีย์บอร์ด ว่าจะเรียงกันในลำดับอย่างไร ซึ่งแต่ละ Layout จะถูกออกแบบเพื่อการใช้งานที่แตกต่างกันไป บางแบบถูกสร้างขึ้นมาเพื่อความสะดวกในการพิมพ์ให้ได้อย่างรวดเร็ว บางแบบออกแบบโดยคำนึงถึงหลักการยศาสตร์เพื่อลดอาการปวดเมื่อยล้าของมือจากการพิมพ์นานๆ

     แต่หลายคนอาจยังไม่ทราบว่าคีย์บอร์ดนั้นมีหลากหลายประเภทของ Keyboard Layout ซึ่งแต่ละแบบจะมีจุดเด่นและข้อจำกัดที่แตกต่างกัน ดังนั้นเราจึงควรศึกษาและเลือกให้เหมาะกับการใช้งานของตนเอง วันนี้เราจะมาแนะนำ 5 ประเภทหลักของ Keyboard Layout กัน

wysiwyg/3_49.jpg

1. QWERTY Layout

     เป็นรูปแบบมาตรฐานที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดทั้งคีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์ดีด การจัดวางแบบนี้ออกแบบมาเพื่อไม่ให้แท่งพิมพ์ดีดติดกันในเครื่องพิมพ์ดีดสมัยก่อน โดยการกระจายตัวอักษรที่ใช้บ่อยให้อยู่ห่างกัน

     แม้ปัจจุบันมีการนำเสนอรูปแบบจัดวางใหม่ๆ แต่ QWERTY ก็ยังคงเป็นมาตรฐานหลักที่ทุกคนคุ้นเคยและใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากความนิยมและการผลิตสื่อการสอนต่างๆ ให้สอดคล้องกับรูปแบบนี้ เหมาะสำหรับทุกประเภทงาน แต่ข้อจำกัดคือการวางมือที่ค่อนข้างไม่สะดวกและไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อการพิมพ์โดยเฉพาะ

wysiwyg/4_46.jpg

2. Colemak Layout

     รูปจัดคีย์บอร์ดแบบ Colemak เป็นรูปแบบการจัดวางตัวอักษรบนแป้นพิมพ์อีกแบบหนึ่ง ที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความสะดวกในการพิมพ์ หลักการสำคัญของ Colemak คือ จัดวางตัวอักษรที่ใช้บ่อยให้อยู่ตรงกลางและสามารถพิมพ์ได้ง่ายด้วยนิ้วกลาง ลดการเคลื่อนไหวมือมากเกินไป วางตัวอักษรคู่ที่ใช้ร่วมกันบ่อยๆ ให้อยู่ติดกัน เช่น n และ e, r และ s เพื่อลดการเคลื่อนไหวนิ้ว วางสระและพยัญชนะที่ใช้บ่อยให้อยู่ในตำแหน่งที่สะดวกต่อการพิมพ์ เน้นการใช้นิ้วกลางและนิ้วชี้ให้มากที่สุด เนื่องจากมีความคล่องตัวสูงกว่านิ้วอื่นๆ

wysiwyg/5_23.jpg

3. Dvorak Layout

     Dvorak เป็นอีก Layout ที่ได้รับความนิยมพอสมควร โดยมีการวางตัวอักษรที่ใช้บ่อย เช่น a, o, e, u, i, d, h, t, n, s จะอยู่ในแถวกลางที่สะดวกต่อการพิมพ์ ตัวพยัญชนะที่ใช้บ่อยจะอยู่ด้านซ้าย ส่วนสระที่ใช้บ่อยจะอยู่ด้านขวา ตัวอักษรคู่ที่ใช้บ่อยร่วมกัน เช่น th, ph, qu จะอยู่ติดกันวางตำแหน่งอักษรที่พยายามเรียงลำดับการใช้งานนิ้วให้สมดุลที่สุด จุดเด่นคือช่วยลดความเมื่อยล้าของมือจากการพิมพ์ และเพิ่มความเร็วในการพิมพ์ แต่ข้อจำกัดคือไม่ค่อยได้รับความนิยมในระดับกว้าง และต้องใช้เวลาปรับตัวเยอะในช่วงแรก

wysiwyg/6_15.jpg

4. AZERTY Layout

     ลักษณะสำคัญของ AZERTY Layout ได้แก่ ตัวอักษร Q,W,X ถูกจัดวางในตำแหน่งที่แตกต่างจาก QWERTY เช่น W อยู่ถัดจาก Z ตัวอักษร M ถูกย้ายจากด้านขวาสุดมาอยู่กลาง เพื่อให้สะดวกในการพิมพ์คำในภาษาฝรั่งเศส เหตุผลที่ AZERTY ถูกนำมาใช้เพราะให้ความสำคัญกับการเรียงตัวอักษรตามลำดับความถี่ในภาษาฝรั่งเศส นอกจากฝรั่งเศสแล้ว AZERTY ยังถูกนำมาใช้ในบางประเทศเช่น เบลเยียม ลักเซมเบิร์ก และพื้นที่บางส่วนของแคนาดาด้วย

wysiwyg/7_10.jpg

5. QWERTZ Layout

     จุดเด่นของ QWERTZ คือแถวพยัญชนะบนสุดจัดเรียงเป็น Q W E R T Z U I O P ตัว Y และ Z สลับตำแหน่งกันเมื่อเทียบกับ QWERTY คือ Z อยู่ก่อน Y ใช้กันในบางประเทศในภูมิภาคยุโรปกลาง เช่น เยอรมนี ออสเตรีย สวิตเซอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก เป็นต้น โดยได้ถูกออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์การใช้งานภาษาเยอรมัน

 

     สรุปแล้ว การเลือกใช้ Layout ของคีย์บอร์ด ต้องพิจารณาจากความถนัด ลักษณะการใช้งาน รวมถึงความสามารถในการปรับตัวของผู้ใช้งาน ถ้าต้องการความรวดเร็วอาจเลือก Dvorak หากไม่ชอบมีอาการปวดมือเลือก Colemak แต่ถ้าไม่อยากปรับตัวมาก เลือกจัก Layouts แบบ QWERTY น่าจะเป็นทางเลือกที่สะดวกและคุ้นเคยที่สุด